MR™ ได้เปิดยุคใหม่ของเลนส์แว่นตา ด้วย"กลุ่มธีโอยูเรเธน"
โครงสร้างโมเลกุลที่เป็นนวัตกรรมใหม่

กำเนิดMR™

เลนส์แว่นสายตาทำจากพลาสติกแรกผลิตขึ้นเมื่อทศวรรษ 1940 ทำจากวัสดุที่เรียกว่า ADC* เป็นวัสดุแทนกระจกที่สามารถครองตลาดมาได้เป็นเวลายาวนาน
อย่างไรก็ตาม วัสดุนี้มีปัญหาอยู่คืออัตราหักเหต่ำทำให้เลนส์มักจะมีขนาดหนา ดูแล้วไม่สวยงาม จึงมีความต้องการที่จะได้วัสดุเลนส์ที่มีอัตราหักเหสูง เพื่อทำเลนส์ให้บางลงได้
หลังจากนั้นได้มีการนำเอาวัสดุพลาสติกเช่น อะครีลิก โพลีคาร์บอเนต มาใช้ทำเป็นเลนส์แว่นสายตาที่มีอัตราหักเหกลาง แต่ก็มีปัญหาเรื่องความคงทนและเกิดวงแหวนสีในการมอง(chromatic aberration)
เข้าทศวรรษ1980 บ. มิตซุย เคมิคอลส์ อิงก์ได้ประยุกต์เรซินยูรีเธนที่ทนต่อแรงกระแทกได้ดีมาทำเป็นเลนส์แว่นสายตา และส่งเสริมการวิจัยวัสดุภายใต้คอนเซปต์ใหม่คือ "ธีโอยูรีเธน" ที่มีการยกรระดับอัตราหักเหได้ด้วยการเติมอะตอมซัลเฟอร์ เข้าค.ศ.1987 ได้พัฒนาวัสดุเลนส์แสงที่ม๊โครงสร้างของโมเลกุลอันเป็นนวัตกรรมใหม่ภายใต้ชื่อ MR-6™ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์แรกภายใต้แบรนด์ MR™ เป็นการเปิดยุคใหม่ของเลนส์แว่นสายตาอัตราหักเหสูง ที่ให้อัตราหักเหสูงถึง 1.60 มีค่า Abbe numberสูง มีความถ่วงจำเพาะต่ำ

โครงสร้างเคมีของ MR-6™

ในปีค.ศ.1991 ได้พัฒนา MR-7™ ที่มีอัตราหักเหสูงขึ้นถึง 1.67 และในปีค.ศ.1998 ได้พัฒนา MR-8™ ที่มีอัตราหักเห 1.60 แต่มีประสิทธิภาพทนความร้อนและ Abbe numberที่
ดีกว่า MR-6™ และ MR-174™ ที่เปิดตัวในปีค.ศ.2000 มีอัตราหักเหสูงถึง 1.74 ซึ่งสูงที่สุดในยุคนั้น ทำให้ได้เลนส์แว่นตาสำหรับปรับสายตาสั้นมากเป็นเลนส์บางแบบไม่เคยมีมาก่อน

ประวัติศาสตร์ของเลนส์แว่นสายตาและอัตราหักเห

*ADC: Allyl diglycol carbonate